วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พลิกปูมผู้สร้างตำนาน‘พลูคาว’ อัศวิน วัฒนปราโมทย์ นักบริหาร‘เหรียญทองโลก’

อัศวิน วัฒนปราโมทย์
พลิกปูมผู้สร้างตำนานพลูคาวอัศวิน วัฒนปราโมทย์ นักบริหารเหรียญทองโลก
ที่ผ่านมา...เราเคยได้ยินแต่กลยุทธ์ ป่าล้อมเมือง”...แต่วันนี้ โดกุดามิน้ำสมุนไพรไทย พลูคาวสกัดภายใต้การผลิตของ โพรแลคกลับมีกลยุทธ์เหนือชั้นกว่าในลักษณะการโตของแบรนด์ที่เป็นไปอย่างข้ามช็อตก้าวกระโดดจาก ภูธรไทยไปอยู่บนเวทีสากลโลกจนต้องเรียกว่า นานาชาติล้อมไทยไปแล้ว!!
รางวัลไทยเทศการันตีฝีมือ อัศวินบริหาร โพรแล
ค-โดกุดามิ
ที่กล่าวอ้างได้เช่นนี้...ก็ด้วยวันนี้ อัศวิน วัฒนปราโมทย์ผู้นั่งควบเก้าอี้ กรรมการผู้จัดการทั้งบริษัทแม่และลูก คือทั้ง บริษัท โดกุดามิ เอเซีย จำกัด หนึ่งในกลุ่มบริษัท โพรแลค (ประเทศไทย) จำกัด ได้กลายเป็นบุคคลตัวอย่างของสังคมไทย ที่การันตีด้วยรางวัล บุคคลคุณภาพประจำปี 2011” (Quality Persons of The Year 2011) จากภาคธุรกิจของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ ของมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) ไปหมาดๆ
โดยก่อนหน้านี้ อัศวินขึ้นเวทีระดับนานาชาติในหลายประเทศเพื่อขึ้นรางวัลทั้งระดับ เหรียญทองและระดับต่างๆ กับผลงานการบริหารจัดการองค์กร โพรแลคและ โดกุดามิมาแล้วนับ ไม่ถ้วน อย่างในปี ค.ศ.2009 ก็ได้รับรางวัล “Best Trade Leader” จากองค์กร ESCAP ในปี 2011 ได้รับรางวัล 2 รางวัลซ้อนคือ International Golden Award for Commercial Prestige, SPAN และ The Majestic Five Continent for Quality and Excellence, ROMR, ITALY ไม่นับรวม กับอีก 3 รางวัลคุณภาพด้านการบริหารจัดการที่เขามีกำหนดเดินทางไปรับในประเทศต่างๆ ช่วงพฤศจิกายนที่ผ่านมาและธันวาคมนี้อีกด้วย
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณารางวัลนานาชาติคณะต่างๆ ล้วน รู้จักและตามเก็บข้อมูลการบริหารจัดการธุรกิจของ อัศวิน วัฒนปราโมทย์ในฐานะผู้บริหารบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชและสมุนไพรไทย โดยใช้กระบวนการผลิตและแปรรูปในระดับโมเลกุล ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคร้ายต่างๆ จนมีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งไทยและต่างประเทศ ผ่านการนำเสนอตีแผ่ของสื่อต่างประเทศที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกอย่าง บูมเบิกและ ไฟแนนเชียลไทม์มาอย่างต่อเนื่อง
ย้อนเส้นทางความสำเร็จ อัศวินนักบริหารตลาดข้าวส่งออกไทย
อย่างไรก็ตามแม้ในมุมมองส่วนตัวของ อัศวินมองว่าการได้มาซึ่งรางวัลเหรียญทองและรางวัล บริหารจัดการและรางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปีต่างๆ ของเขาหรือใครสักคนหนึ่งที่ได้รับมานั้น เป็นสิ่ง ที่เขาไม่ได้ไขว่คว้าวิ่งเต้นไล่หามา แต่เป็นการ จัดให้จากองค์กรนานาชาติเหล่านั้นมากกว่า เพราะตัวเขาไม่ได้ยื่นความจำนงประสงค์อะไรต่อองค์กรใดที่จะขอเข้าไปรับรางวัลดังกล่าว

แต่มุมมองอีกด้านหนึ่งก็ฉุกให้คิดคำนึงอย่างลึกซึ้งว่าการที่องค์กรระดับชาติทั้งในและต่างประเทศจะมอบ รางวัลคุณภาพให้ใครสักคนคงไม่ใช้วิธีการสุ่มเลือกไม่รู้ ที่มาที่ไปของบุคคลผู้ได้รับรางวัลเป็นแน่ หากแต่ทุกคนที่ได้รับรางวัลย่อมเป็นบุคคลที่มี เส้นทางความสำเร็จให้เป็น แบบอย่างที่ดีกับสังคมเป็นพื้นฐานปัจจัยในการถูกพิจารณาเลือกเป็นสำคัญที่สุด

เพราะหากย้อนปูมหลังเส้นทางชีวิตของ อัศวิน วัฒนปราโมทย์ที่ผ่านมาจะพบรอยความสำเร็จปรากฏขึ้นบนการดำเนินวิถีชีวิตและการงานของเขามาโดยตลอด แม้เจ้าตัวไม่ค่อยจะปรากฏเป็น บุคคลในข่าวอะไรมากมายในสังคมไทยเนิ่นนานมาแล้วก็ตาม นับตั้งแต่เขาตัดสินใจหันหลังให้ อาชีพสื่อมวลชนแล้วก้าวสู่เส้นทางอาชีพธุรกิจที่เริ่มต้นด้วยการเป็น นักขายหรือ นักการตลาดนั่งเก้าอี้ผู้จัดการฝ่ายบริหารตลาดบริษัทในเครือสหพัฒนฯ เมื่อปี 2530 เป็นต้นมา
เหตุผลที่ผมหันหลังให้วงการสื่อสารมวลชนเพราะรู้ถึงตรรกะอาชีพดีว่าชีวิตต้องอยู่อย่างไร และหากจะให้เพิ่งตัวเองได้ เราจะต้องมองหาอาชีพที่จะทำให้เราอยู่ได้ด้วยตัวเอง และก็ต้องเป็น นักการตลาด ผมจึงตัดสินใจไปศึกษาด้านธุรกิจต่อจบมาก็เริ่มที่เครือสหพัฒนฯ

หลังจากฝึกปรือวิทยายุทธ์การตลาดจนแข็งแกร่งภายใต้ปีกการดูแลของ ปู่เทียม” (เทียม โชควัฒนา) ในสมัยนั้น โดยทำงานร่วมทีมกับลูกๆ ของปู่เทียมมาอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งต่อมาฝีมือการบริหารจัดการงานตลาดให้เครือสหพัฒน์ที่มีสินค้าครอบคลุมสากกะเบือยันเรือรบกระจายไป ทั่วทุกภูมิภาคประเทศไทย ก็เป็นที่เข้าตาต้องใจของ เสี่ยใหญ่” (วิญญ คุวานันท์) เจ้าของกลุ่มธุรกิจ โค้วยุ่ฮะที่ชวนเขามาร่วมงานแล้วเปลี่ยนไลน์ธุรกิจไปทำตลาดข้าวส่งออกต่างประเทศ
และแล้วในช่วงปี 2533-2534 “อัศวินก็ได้สร้างประวัติศาสตร์ ส่งออกข้าวให้กับตัวเองและวงการธุรกิจขึ้น เป็นครั้งแรก เมื่อเขาสามารถส่งออกข้าวให้กลุ่มโค้วยุ่ฮะ ได้มากกว่า 4 หมื่นตันต่อเดือนท่ามกลางวิกฤตสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในระยะเวลาการศึกษาธุรกิจข้าวทุกซอกทุกมุมเพียง 55 วัน ก่อนบินเปิดตลาดในตะวันออก กลาง แล้วก็ตามติดด้วยออเดอร์ล็อตใหญ่แบบถล่มทลาย

ตรงนี้ส่วนหนึ่งมาจากซิกเซ็นส์นักข่าวบวกกับมิตรภาพเพื่อนฝูงในต่างประเทศที่ผมมีมานาน ผมเชื่อว่าวงการข้าวตอนนั้นใครก็ได้ยินชื่อเสียงของผม และยังอีก 2 บริษัทอย่างเพรสซิเดนท์ อะกรีเทรดดิ้ง และสุริยะโปรดิวส์ ที่สร้างขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของวงการ แล้วผมก็ยังเป็นกรรมการบริหารสมาคม ผู้ส่งออกข้าวต่างประเทศ และกรรมการกำหนดราคาข้าว สภาหอการค้าไทยอีกด้วย
เปิดตำนาน พลูคาวจุดประกาย อุตสาหกรรมแปรรูปสมุนไพรไทย
แต่พอชีวิตก้าวผ่านเวทีธุรกิจระดับโลกซึ่งล้วนต่างทุ่มเทกลยุทธ์กระโจนแย่งแข่งตลาดกันจน พ่อค้าหลายคนลืมคิดถึงจริยธรรมมากขึ้น อัศวินก็เริ่มคิดกลับย้อนไปถึง จุดพอดีและเป็นอยู่อย่าง พอเพียงเขาจึงหันหลังให้วงการุรกิจค้าข้าวอีกครั้ง แล้วย้ายครอบครัวไปปักหลักอยู่ทางเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมๆ กับเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหารและไอศกรีมแทน

หลังจากนั้นไปอยู่เชียงใหม่เอาลูกกลับไปเรียนที่นั้นตั้งแต่อายุ 3 ขวบวันนี้ 18 ปีแล้ว ตอนนั้นก็ไปเปิดร้านอาหารร้านและร้านไอศกรีม หวังกำไร แค่วันละ 100 บาท แต่ในที่สุดก็ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ เป็นร้านไอศกรีมเนสเล่ 200 โต๊ะ ที่ทำอย่างนั้นก็คิดถึงการบริหารจัดการให้ธุรกิจมันคุ้มทุนด้วยตัวมันเอง เลยต้องมองถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มเยอะๆ เป็นหลัก

แต่ด้วย อัศวินเป็นคนมี ประสบการณ์มากมายหลากหลายทำให้ชื่อเสียงของเขาในกลุ่มคนวงในธุรกิจต่างๆ ยังกล่าวถึงไม่ขาดหาย และมักมี เจ้าของธุรกิจน้อยใหญ่ที่ประสบปัญหาการบริหารจัดการหนี้สินเข้าไปปรึกษาหารือหาทางออกอยู่เป็นประจำกระทั่งวันหนึ่งเขาก็ได้รู้จักกับเจ้าของบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์แล้ว ได้เข้าไปร่วมเป็น ที่ปรึกษาแก้ปัญหาเอ็นพีแอลจนกระทั่งมีการถ่ายโอนไปสู่การบริหารจัดการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)

แล้ว ณ จุดนี้เองที่ อัศวินต้อง หวนกลับเข้าสู่วงการธุรกิจอีกครั้งเมื่อต้อง ตกกระไดพลอยโจนกับการเข้ามารับตำแหน่งกรรมการบริหาร บริษัท ที ไอ เอส เอฟ จำกัด (ที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ เพื่อส่งออกต่อมาเปลี่ยนแปลงกิจการเป็นโรงงานแปรรูป สมุนไพร) ทั้งนี้เริ่มต้นด้วยแนวคิดเพื่อให้บริษัทอยู่รอดได้ต่อไปจึงมองหาไลน์ธุรกิจ อื่นเพิ่ม กระทั่งได้ร่วมมือกับกลุ่มคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่วิจัยสมุนไพรไทย พลูคาวขึ้น
อย่างไรก็ตามช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สมุนไพรไทยระยะแรกยังไร้แนวทางการทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ จนเมื่อ 27 ตุลาคม 2545 “อัศวินได้มีโอกาสกล่าวในที่ประชุมคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรมของรัฐสภา ซึ่งเป็นการประชุมผู้ปลูกสมุนไพรของภาคเหนือที่โรงแรมภูคำเชียงใหม่ ในฐานะตัวแทน 1,500 คน เรื่อง ผู้ปลูกและแปรรูปสมุนไพรจะเป็นไปทิศทางใด

แล้วได้สรุปขอความร่วมมือให้ภาครัฐสนับสนุนงบงานวิจัยเพื่อนำไปมาเป็นหลักฐานวิชาการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคยอมรับสมุนไพรไทยมากขึ้นจนเป็นที่มาของการเริ่มต้นงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาถึงปัจจุบัน

ตอนนั้นไม่มีใครคิดออก..แต่ผมเอาประสบการณ์ทั้งหมดทั้งที่ไปมาในหลายประเทศและหลักการทำตลาดในบ้านเราของผมที่ผ่านมาเป็นแนวทางปราศัย แล้วก็พูดทิ้งท้ายว่าต้องจำไว้ว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะมีอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นั่นก็คือ อุตสาหกรรมแปรรูปสมุนไพรไทย แล้ววันนี้ก็เกิดขึ้นแล้วจริงๆ
โพรแลค-โดกุดามินำร่องขายตรงไทยเข้าตลาด มหาชนเทศ
ในขณะที่ความคืบหน้าของการนำ งานวิจัยพลูคาวมาแปรรูปเป็น สมุนไพรแปรรูปนั้น อัศวินได้พยายามที่จะนำสมุนไพรแปรรูปดังกล่าวที่ผ่านการทดลองจนได้ผลดีแล้วไปสู่ ผู้ป่วยตามความตั้งใจช่วยเหลือผู้ขาดทุนทรัพย์ ทั่วประเทศ แต่ด้วย แนวคิดกับการ ปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไม่สามารถดำเนินการได้จึงได้ยุติความร่วมมือกันไป แล้วเขาก็ไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นแทน

ปัจจุบัน อัศวินได้ก่อตั้ง บริษัท โพรแลค (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นมาเป็น ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ โดกุดามิและ หยี่ ซิง ฉาวซึ่งเป็นสมุนไพรไทยแปรรูป มาจาก พลูคาวโดยขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยแล้วยังได้รับ “US.FDA” จากประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้นการทำตลาดสมุนไพรไทยแปรรูปทั้ง 2 จึงกระจาย ไปเกือบทุกประเทศในอเมริกาและยุโรป โดยเฉพาะที่เยอรมันได้นำ โพรแลค อินเตอร์เนชั่นแนลเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์เป็นผลสำเร็จแล้วเมื่อไตรมาส 3 ของปีนี้ที่ผ่านมา

โดยส่วนตัวแล้วยังไม่อยาก เข้าตลาดหลักทรัพย์ใดแต่ด้วยปัจจัยการเติบโตทำให้เราไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำหลายฝ่ายมาโดยตลอด เรา ก็ยินดีปฏิบัติตามคำแนะนำของเขา ซึ่ง มันก็ดี ทำให้เรามีทุนมาสร้างโรงงานและผลิตสมุนไพรให้ผู้ป่วยได้เร็วขึ้น และโรงงานกำลังจะได้รับ ISO 2008 หลังจากก่อนหน้านี้ก็ได้ GMP ไปแล้ว
และเท่าที่ทราบขณะนี้บริษัทที่ดำเนินธุรกิจขายตรงน้ำพลูคาวของ อัศวินกำลังได้รับการติดต่อให้นำเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง พร้อมกันนั้นยังมีบริษัทหลักทรัพย์ 2 แห่งในประเทศไทยติดต่อนำ กลุ่มบริษัทโพรแลคเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยอีกด้วย นับเป็นช่วงจังหวะการเติบโตของ กลุ่มบริษัทที่น่าจับตาอย่างยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้

อัศวินกล่าวยอมรับว่าที่ผ่านมา การเติบโตจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังผลิตที่ได้ 5,000 ขวดต่อวัน แต่หลัง ต้นปี 2555 เป็นไปจะมีการเพิ่มกำลังผลิต ขึ้นไปจนถึง 100,000 ขวดต่อวัน และเป็น การขยายฐานการผลิตตามความต้องการตลาดที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีจำนวน ผู้ป่วยโรคเอดส์และ มะเร็งสูงมาก ล่าสุดทางกลุ่มโพรแลค กำลังเตรียมเข้าไปทำตลาดใหม่กลุ่มทวีป อัฟริกาใต้ต่อ คาดว่าจะดำเนินการได้ในต้น ปีหน้า ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากกลุ่มเอ็นจีโอ วานาเกา” (WANAGAO) ที่ได้เชิญให้เขาไปบรรยายในโอกาส วันเอดส์โลก” 1 ธันวาคม 2554 แต่ด้วยติดภารกิจจึงไม่ไป ร่วมงานดังกล่าว

ถึงตรงนี้หลายคนก็คงรู้จัก อัศวิน วัฒนปราโมทย์บิ๊กบอสตัวจริงผู้สร้างตำนานสมุนไพรไทยแปรรูป น้ำพลูคาวสกัดอันเลื่องชื่อในคุณค่าคุณประโยชน์ และคุณภาพของ โดกุดามิและ หยี่ ซิง ฉาวกันมากขึ้น และจะยิ่งมากขึ้นนับจากต้นปี 2555 นี้เป็นต้นไปกับตำแหน่ง นายกสมาคมของสมาคมอุตสาหกรรมขายไทยคนใหม่ ซึ่งเขาได้ฝากข้อคิดทิ้งท้ายไว้ว่า

ธุรกิจขายตรงวันนี้...ไม่ควรสร้างภาพลักษณ์ให้ใหญ่โตจนทำให้คนที่ไม่เข้าใจธุรกิจอาจมองว่าขายตรงเป็นธุรกิจที่ จับต้องไม่ได้ซึ่งจะเป็นหนทางทำลายธุรกิจโดยรวม หากค่อยๆ ดำเนินธุรกิจบนความเป็นจริงค่อยขยับฐานะความมั่นคงด้วยคุณภาพสินค้าและการบริหารจัดการที่ดีก็จะเป็นการช่วยกันดูแลธุรกิจให้ยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับของสังคมสูงสุดอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง!!
อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ปีที่ 8 ฉบับที่ 217 ปักษ์แรก ประจำวันที่ 1-15 ธันวาคม 2554
ที่มาจาก http://www.sumret.com/content.php?id=3101&group_id=14


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น