วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โพรแลคกับผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น


จากหนังสือ "วารสาร วิทยาศาสตร์" ลายพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราาชทานแก่วารสารวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวาระที่วารสารวิทยาศาสตร์ เข้าสู่ปีที่ 70 ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2559 วารสารเฉพาะวิชาเด่น โดยคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ ISSN 0125-0515 โดยเนื้อหาระบุว่า
 IRF กับ 4 ผลงานเด่นด้านสุขภาพจาก ม.ขอนแก่น
   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโครงการทุนนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมหวังปั่นนักวิจัยปริญญาโทปริญญาเอกสู่ภาคอุตสาหกรรม เปิดตัวผลงานในมือที่ทำสำเร็จแล้วพร้อมขยายสู่การผลิตทันที เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการวิจัยเชิงสตาร์ทอัพ รศ.ดร.ประเสริญ ภวสันต์ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย เปิดเผยในระหร่างนำคณะสื่อมวลชนเปิดตัว 4 ผลงานเด่นด้านสุขภาพ ภายใต้โครงการทุนนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมหรือ Industrial-academic Research Fellowship Program (IRF)    
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่นว่า IRF เป็นทุนสนับสนุนนักวิจัย ที่สำเร็จการศึกษาใหม่ สามารถใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการเรียนรู้ระบบการทำงานของภาคอุตสาหกรรมและประยุกต์งานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาจากภาคอุตสาหกรรม โดยมีอาจารย์หรือนักวิจัยอาวุโสจากภาครัฐเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ และประเด็นปัญหาจากการดำเนินงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งวงการวิชาการ เนื่องจากเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับการพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่ วงการอุตสาหกรรม เพราะสามารถเข้าใจการแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็วและดีขึ้น
สำหรับรูปแบบของทุน IRF จะเป็นการร่วมสนับสนุน 3 ฝ่าย คือจาก สกว. ร้อยละ 25 จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐ ร้อยละ 25 และจากภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 50 ในด้านเงินสนับสนุนและองค์ความรู้ต่อยอด โดยรับทุนไม่เกิด 2 ปี ใน 2 รูปแบบ คือ ทุนนักวิจัย วุฒิปริญญาโท ทุนละ 1.06 ล้านบาท และวุฒิปริญญาเอก ทุนละ 1.8 ล้านบาท
ด้าน ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดเผยถึงผลงานด่นของนักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้รับทุน IRFการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของน้ำหมักสมุนไพรพลูคาว โดย รศ.ดร.ธนเศรษฐ์ เสนาวงค์ จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์ที่ปรึกษา, นายศุภวิชญ์ อุทัยวัฒน์ นักศึกษา และ บริษัท โพลแลค (ประเทศไทย) จำกัด มีเป้าหมายเพื่อเตรียมสารสกัดเพื่อศึกษาฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของเครื่องดื่มน้ำหมักสมุนไพรพลูคาว โดยใช้เทคนิค HPLC ซึ่งข้อมูลที่ได้เบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าเครื่องดื่มน้ำหมักสมุนไพรพลูคาวมีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน โดยจากการทดลองกับเซลล์ม้ามของหนูแรท ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ม้ามของหนูแรท และมีแนวโน้มส่งเสริมการเจริญแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์เป็นอย่างดี

Cr.วารสารวิทยาศาสตร์ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2559

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น