วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มะเร็งปอด


มะเร็งปอด
        พบมากเป็นอันดับ 2 ในชาย รองจากมะเร็งตับ ซึ่งตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้อยาก และมีอัตราการตายสูง
สาเหตุ
           1.         การสูบบุหรี่ โดยผู้สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนที่ไม่สูบเฉลี่ยแล้ว 16 เท่า ความเสี่ยงนี้จะสูงขึ้นในผู้ที่สูบมากและนาน
2.         พันธุกรรม
3.         การสัมผัสสารก่อมะเร็ง จากการทำงานและสิ่งแวดล้อม เช่น แอสเบสตอสเรดอน
อาการ
ในระยะแรก ไม่มีอาการผิดปกติอะไรเลย เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้นจนไปกดหลอดลมหรือลุกลามไปสู่อวัยวะอื่น จะมีอาการไอมีเลือดออก เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย มีหน้าบวม แขนบวม เจ็บหน้าอกและไหล่ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
วินิจฉัย
1.         ซักประวัติตรวจร่างกาย
2.         X-ray ปอด
3.         ตรวจชิ้นเนื้อ
4.         ตรวจเสมหะ
การรักษา
1.         การผ่าตัด ทำในกรณีที่ก้อเนื้อขนาดไม่ใหญ่มาก
2.         การฉายแสงร่วมกับการให้เคมีบำบัด เพื่อช่วยชะลอการลุกลาม
3.         ประคับประคองตามอาการ
การป้องกัน
มะเร็งปอดเป็นโรคร้ายที่พบบ่อยและเมื่อเกิดแล้ว สามารถรักษาให้หายขาดได้น้อย การป้องกันโดยการไม่สูบบุหรี่ หรือหากสูบบุหรี่อยู่ก็ควรเลิกหรือลดให้เร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงได้มาก และ ดูเหมือนจะเป็นวิธีเดียวที่เราจะทำได้ในขนะนี้
ที่มา

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มะเร็งตับ


มะเร็งตับ
โรคมะเร็งตับเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย มะเร็งชนิดมีความรุนแรงและรักษาอยาก จึงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย
สาเหตุ
โรคมะเร็งตับที่พบในคนไทยส่วนใหญ่มีความเกี่ยวของ กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและชีชนิดเรื้อรัง รวมทั้งโรคตับแข็งจาการดื่มแอลกอฮอล์ และโรคไขมันสะสมในตับ
1.         ไวรัสตับอักเสบบี
2.         ไวรัสตับอักเสบชี
3.         แอลกอฮอร์
4.         แอลฟาทอกชิน
5.         ตับแข็ง
อาการ
1.         เริ่มต้นด้วยอาการเบื่ออาหารแน่นท้องท้องผูก
2.         อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และมีไข้ต่ำ
3.         ปวดหรือเสียดชายโครง ด้านขวา อาจคลำก้อนได้
4.         ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตและบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง
วินิจฉัย
การตรวจ และรักษาโรคมะเร็งตับตั้งแต่ระยะแรกจะได้ผลดี การวินิจฉัย ได้แก่
1.         การตรวจหาระดับแอลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด
2.         การใช้เครื่องมือพิเศษได้แก่อัลตราซาวด์ เครื่องภาพอวัยวะด้วยรังสีไอโซโทป และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
3.         การดูลักษณะของเซลล์ ด้วยการเจาะเอาเนื้อตับมาตรวจ
การรักษา
1.         โดยการผ่าตัด
2.         การฉีดยาเข้าก้อนมะเร็งโดยตรง ในมะเร็งระยะเริ่มแรก
3.         การฉีดยาเคมี หรือสารอุดตันเข้าเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงก้อนมะเร็ง
4.         การใช้ยาเคมีส่วนใหญ่รักษา เพื่อบรรเทาอาการ
การป้องกัน
1.         ให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบ
2.         ป้องกันและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ
3.         ปรับเปลี่ยนพฤติกรรเพื่อสุขภาพ
4.         รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลัก
5.         รับประทานผัก ผลไม้สด เป็นประจำ
6.         เลิกบุหรี่
7.         เลิกสุรา
8.         เลิกเคี้ยวหมาก
ที่มา

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มะเร็งเต้านม


มะเร็งเต้านม
ในหญิงไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุด พบบ่อยในช่วงอายุ 45-50 ปี
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่ทำให้โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นได้แก่
1.         มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็ง
2.         ไม่มีลูกหรือลูกคนแรกหลังอายุ 30 ปี
3.         ช่วงอายุการมีประจำเดือนนาน
4.         มีการใช้โฮร์โมนเพศหญิงนาน
5.         อ้วน
6.         ดื่มแอลกอฮอล์มาก
7.         และอีกหลายสาเหตุ
อาการ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อ พบก้อนในเต้านม
การวินิจฉัย
หนังจากแพทย์ตรวจพบก้อนแล้ว จะพิจารณาทำการตรวจเพิ่มดังนี้
-        X-ray เต้านม และ อัลตราชาวด์
-        ใช้เข็มเจาะก้อนเพื่อดูเซลล์ การใช้เข็มเจาะตัดเนื้อจากก้อน
-        การผ่าตัดเพื่อนำก้อนออก
การรักษา
1.         การผ่าตัด มีสองวิธีที่สำคัญคือ
1.1                       ผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้ และเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก
1.2                       ผ่าตัดแบบตัดเต้านม ออกทั้งหมด และเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก
2.         การฉายรังสี
2.1                       หากผ่าตัด แบบสงวนเต้านมไว้ มีความจำเป็นต้องฉายรังสีต่อ
2.2                       หากผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมดและเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกจะต้องฉายแสงรังสีหลังผ่าตัด ในกรณีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ มีการกระจายของเซลล์มะเร็ง
3.         การใช้ยาฮอร์โมนและเคมีบำบัด โดยทั่วไปหากก้อนมะเร็งโตกว่า 1ซม. มะเร็งแพร่การกระจายไปต่อมน้ำเหลืองแล้ว
การป้องกัน
1.         สตรีทุกท่านควรตรวจเต้านมของตนเองเป็นประจำทุกเดือนควรได้รับการตรวจจากแพทย์หรือพยาบาลเป็นครั้งคราวเพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและการรักษา
2.         ในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการตรวจ x-ray เต้านม (Mammogram)  ปีละ 1 ครั้ง



ที่มา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มะเร็งปากมดลูก


มะเร็งปากมดลูก
พบมากเป็นอันดับสอง ของมะเร็งในผู้หญิง รองจากมะเร็งเต้านม ในแต่ละปีประเทศไทย มีผู้ป่วยมะเร็ง รายใหม่ประมาณ6,000 คน และเฉลี่ยวันละ 7 คน มะเร็งปากมดลูกพบในผู้หญิงอายุประมาณ  35- 50 ปี
สาเหตุ
1.         จากการติดเชื้อไวรัส เอสพีวี (Humman Papilloma Virus) ชนิด 16 และ 18
2.         ปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยการมีคู่นอนหลายคน การมีลูกมาก การสูบบุหรี่ และสภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอสด์)
อาการ
   โดยทั่วไปในระยะแรก จะไม่ปรากฏอาการใดๆ แต่ในระยะต่อมาผู้ป่วยจะพบ
1.         ตกขาวหรือมีเลือดออก ผิดปกติ ทางช่องคลอด
2.         ตรวจพบแผลหรือก้อนที่ปากมดลูก
การวินิจฉัย
1.         การตรวจแปบสเมีย (Pap Smear)
2.         การตรวจชิ้นเนื้อ
การรักษา
ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอาจรักษาให้หายขาดได้เมื่อตรวจพบ โรคระยะแรก วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นรายไป ได้แก่
1.         การผ่าตัด
2.         การใส่แร่
3.         การฉายแสง
4.         เคมีบำบัด
การป้องกัน
สามารถป้องกันได้โดย
1.         การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยง
2.         ค้นหาการติดเชื้อ เอชพีวี และมะเร็งปากมดลูก โดยการตรวจแปปสเมีย

ที่มาสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่องมะเร็งต่างๆมีหลายชนิด

 มะเร็งกระดูก
   
มะเร็งปอด

มะเร็งโพรงหลังจมูก

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท

มะเร็งระบบทางเดินอาหาร ปัสสาวะ และ อวัยวะสืบพันธุ์ชาย
 มะเร็งกล่องเสียง
 มะเร็งช่องปาก

 มะเร็งต่อมธัยรอยด์

มะเร็งตับ 

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 มะเร็งถุงน้ำดี และท่อน้ำดี


มะเร็งมดลูก



 มะเร็งรังไข่

 มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งเต้านม