วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โพรแลคกับผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น


จากหนังสือ "วารสาร วิทยาศาสตร์" ลายพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราาชทานแก่วารสารวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวาระที่วารสารวิทยาศาสตร์ เข้าสู่ปีที่ 70 ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2559 วารสารเฉพาะวิชาเด่น โดยคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ ISSN 0125-0515 โดยเนื้อหาระบุว่า
 IRF กับ 4 ผลงานเด่นด้านสุขภาพจาก ม.ขอนแก่น
   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโครงการทุนนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมหวังปั่นนักวิจัยปริญญาโทปริญญาเอกสู่ภาคอุตสาหกรรม เปิดตัวผลงานในมือที่ทำสำเร็จแล้วพร้อมขยายสู่การผลิตทันที เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการวิจัยเชิงสตาร์ทอัพ รศ.ดร.ประเสริญ ภวสันต์ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย เปิดเผยในระหร่างนำคณะสื่อมวลชนเปิดตัว 4 ผลงานเด่นด้านสุขภาพ ภายใต้โครงการทุนนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมหรือ Industrial-academic Research Fellowship Program (IRF)    
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่นว่า IRF เป็นทุนสนับสนุนนักวิจัย ที่สำเร็จการศึกษาใหม่ สามารถใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการเรียนรู้ระบบการทำงานของภาคอุตสาหกรรมและประยุกต์งานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาจากภาคอุตสาหกรรม โดยมีอาจารย์หรือนักวิจัยอาวุโสจากภาครัฐเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ และประเด็นปัญหาจากการดำเนินงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งวงการวิชาการ เนื่องจากเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับการพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่ วงการอุตสาหกรรม เพราะสามารถเข้าใจการแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็วและดีขึ้น
สำหรับรูปแบบของทุน IRF จะเป็นการร่วมสนับสนุน 3 ฝ่าย คือจาก สกว. ร้อยละ 25 จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐ ร้อยละ 25 และจากภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 50 ในด้านเงินสนับสนุนและองค์ความรู้ต่อยอด โดยรับทุนไม่เกิด 2 ปี ใน 2 รูปแบบ คือ ทุนนักวิจัย วุฒิปริญญาโท ทุนละ 1.06 ล้านบาท และวุฒิปริญญาเอก ทุนละ 1.8 ล้านบาท
ด้าน ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดเผยถึงผลงานด่นของนักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้รับทุน IRFการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของน้ำหมักสมุนไพรพลูคาว โดย รศ.ดร.ธนเศรษฐ์ เสนาวงค์ จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์ที่ปรึกษา, นายศุภวิชญ์ อุทัยวัฒน์ นักศึกษา และ บริษัท โพลแลค (ประเทศไทย) จำกัด มีเป้าหมายเพื่อเตรียมสารสกัดเพื่อศึกษาฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของเครื่องดื่มน้ำหมักสมุนไพรพลูคาว โดยใช้เทคนิค HPLC ซึ่งข้อมูลที่ได้เบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าเครื่องดื่มน้ำหมักสมุนไพรพลูคาวมีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน โดยจากการทดลองกับเซลล์ม้ามของหนูแรท ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ม้ามของหนูแรท และมีแนวโน้มส่งเสริมการเจริญแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์เป็นอย่างดี

Cr.วารสารวิทยาศาสตร์ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2559

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สรรพคุณสมุนไพรพลูคาว


สรรพคุณ  
              ตำรายาไทย ทั้งต้น รสเผ็ด มีกลิ่นคาวปลา เป็นยาเย็น แก้กามโรค เข้าข้อ แก้น้ำเหลืองเสีย ทำให้แผลแห้ง ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษ ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ รักษาปอดอักเสบเป็นหนอง หลอดลมอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ไอ รักษาติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบบวมน้ำ ลำไส้อักเสบ เต้านมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ แก้บิด แก้ริดสีดวงทวาร ภายนอกใช้แก้พิษงู แมลงกัดต่อย แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน ฝีอักเสบ ทาภายนอกให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังในบริเวณนั้นมาก ใบ รสเผ็ดคาว แก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง ทำให้แผลแห้ง แก้เข้าข้อ แก้โรคผิวหนังทุกชนิด ดอก แก้โรคตา ราก แก้เลือด และขับลม ทั้งห้า (ต้น ใบ ดอก ผล ราก) นำมาปรุงหรือกินแก้โรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด และโรคที่เกิดตามผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง

องค์ประกอบทางเคมี
            ทั้งต้น พบน้ำมันระเหยง่ายประมาณ 0.5% และพบสารอื่นๆ ได้แก่ สารกลุ่มเทอร์ปีน caprinaldehyde, myrcene, geraniol, linalool, cineole, limonene, pinene, thymol, caryophyllene, 3-oxodecanol สารกลุ่มฟลาโนอยด์ ได้แก่ quercitrin, rutin, quercetin, afzelin, reynoutrin, hyperin สารกลุ่มอัลคาลอยด์ ได้แก่ อะริสโทแลคแทมเอ, พิเพอโรแลคแทมเอ สารอื่นๆ ได้แก่ capric acid, potassium chloride, potassium sulphate
            ผล มีน้ำมันหอมระเหย เป็นของเหลวใส สีเหลืองทอง มีกลิ่นเฉพาะตัว ประกอบด้วย alpha pinene, beta pinene, d-limonene, borneol, linalool, beta caryophyllene, eucalypttol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา
          ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ฤทธิ์ต้านไวรัสที่ก่อให้เกิดเริม, ไข้หวัดใหญ่  และเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม, ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียStaphylococcus aureus, Sarcina ureae, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ฤทธิ์ขับปัสสาวะ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา
          ตำราสมุนไพรไทยจีน แนะนำให้ใช้พลูคาว 15-30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ แก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ บิด และวัณโรค